แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต ???

loading...

แพทย์ห่วง หลังพบเด็กป่วยภาวะขาดสารอาหาร จากการที่พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน
เร็ว ๆ นี้ได้มีการโพสต์แชร์เรื่องราวของคุณหมอท่านหนึ่ง ที่ต้องการเตือนให้ผู้ปกครองทุกคนทราบ ถึงอันตรายของการเลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานนั้นน่ากลัวกว่าที่คุณคิด



จาก ประสบการณ์ของคุณหมอได้เล่าว่า เคยพบผู้ป่วยที่เป็นไข้ในลักษณะเดียวกันนี้ รวมแล้วสิบราย บางรายก็ต้องจากไปด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือด คุณหมอจึงได้ออกมาให้ความรู้กับผู้ปกครองทุกคนได้ทราบว่า นมข้นหวานนั้นไม่ได้เหมาะกับการเลี้ยงลูกเลย

ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยเด็กรายนี้ ถูกวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะการขาดโปรตีน สารอาหาร และพลังงาน ซึ่งในนมข้นหวานนั้นมีส่วนผสมที่ต่างกับนมแม่และนมผงสำหรับเด็ก เพราะมีแต่ ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมเท่านั้นที่เป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้ป่วยเด็กรายนี้เกิดเป็นผื่นดังภาพที่ปรากฏอยู่

โดยภาวะดังกล่าวนั้นเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย ทำให้เกิดอาการบวมทั้งตัว เนื่องจากโปรตีนในเลือดต่ำมาก จนทำให้น้ำในหลอดเลือดไหลออกมานอกหลอดเลือด ผมเปราะบางร่วงง่าย ผิวหนังหลุดลอกง่าย ตับโต เด็กจะซึมไม่สดใส และมีพัฒนาการช้า

จากการสอบถาม คุณหมอให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า แม่ของน้องมีอายุเพียง 20 ปี และต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพัง ตอนนี้พักอาศัยอยู่กับญาติที่บ้าน เลขที่ 24 ม.6 ต.ศรีสาคร อ. ศรีสาคร จ .นราธิวาส 96210 หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจอยากให้ความช่วยเหลือน้อง ก็สามารถให้การช่วยเหลือโดยการโอนเงินไปที่

ธนาคารกรุงไทย

บัญชีชื่อ นางสาวนูรีซัน อุมา

เลขที่บัญชี 905-0-94448-5

ซึ่งตอนนี้ น้องได้พักรักษาตัวอยู่ที่อาคารเปี่ยมสุข 4 โรงพยาบาลนราธิวาสนครินทร์ค่ะ และเพื่อให้เกิดประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ต่อไป ดังนั้น วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะการขาดโปรตีนในเด็กกันค่ะ

โรคขาดโปรตีนและพลังงานนั้น เป็นโรคการขาดสารอาหารชนิดหนึ่งที่เกิดจากร่างกายนั้นได้พลังงานและโปรตีน ไม่เพียงพอ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการสารอาหารต่าง ๆ มากกว่าในวัยอื่น ๆ

ถ้าเด็กได้อาหารที่ให้โปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพหรือปริมาณ ก็จะทำให้เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้




ลักษณะอาการของโรคนี้แบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ

1. ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor)  เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน ประเภทที่มีการขาดโปรตีนเป็นอย่างมาก อาการแสดงต่าง ๆ ที่ตรวจพบนั้น จะเห็นได้ชัดว่า เด็กมีอาการบวมที่ขาทั้งสองข้าง เส้นผมเปราะบาง และหลุดร่วงง่าย ผิวหนังบางลอกหลุดง่าย ตับโต ซึมเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม

2. มาราสมัส (Marasmus) มีอาการขาดทั้งพลังงานและโปรตีน อย่างมาก เด็กมีอาการแขนขาลีบเล็ก เหลือหนังหุ้มกระดูกเพราะกล้ามเนื้อและไขมันถูกเผาผลาญเป็นพลังงาน

loading...


ที่มา: สำนักโภชนาการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลิก ที่ลูกสอน ดู หน้าถัดไป