อัศจรรย์!! ตำนานหมู่บ้านจมน้ำ 36 ปีโผล่มาให้เห็น พอเข้าไปดูแทบไม่อยากเชื่อสุดอลังการ

loading...


"บ้านโต" หมู่บ้านในตำนานจมใต้บาดาลนาน 36 ปี โผล่เขื่อนบางลาง หลังน้ำลดต่อเนื่อง ปชช.-นทท. แวะถ่ายภาพ เจ้าหน้าที่เขื่อนระบุ ฝนตกท้ายเขื่อน ทำน้ำเข้าเกณฑ์ต่ำ จ่อลดการระบายน้ำ

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 59 จากกรณีน้ำในเขื่อนบางลาง บ้านกาโต ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา มีปริมาณลดลงจนถึงแห้งในบางจุด จนสามารถมองเห็นพื้นที่ดินด้านล่าง และตอต้นไม้ขนาดใหญ่แห้งตายเรียงรายจำนวนมากได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ห่างจากจุดใต้สะพานยังพบสิ่งมหัศจรรย์หลังน้ำลด คือ หมู่บ้านในอดีต ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่เรียกว่า "บ้านโต" เป็นหมู่บ้านในตำนานที่หายไป หลังจากทางราชการมีการสร้างเขื่อนบางลาง ตั้งแต่ปี 2518 กระทั่งสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้เมื่อปี 2524 ทำให้หมู่บ้านทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และมีการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านคอกช้าง และบ้านฆอแย ซึ่งในอดีต บ้านโต เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีถนนตัดผ่านเป็นเส้นทางหลักเชื่อมการเดินทางระหว่างเบตง และยะลา การค้าขายรุ่งเรือง มีเหมืองแร่ดีบุก รวมทั้งโรงเรียน มัสยิด วัด โรงพัก อนามัย ตลาด และบ้านเรือนของชาวบ้าน



 นายจองอิม แซ่จ่อง อายุ 65 ปี ชาวบ้านที่เคยอาศัยที่บ้านโต เปิดเผยว่า บ้านโต ในอดีตมีความเจริญมาก แต่หลังจากมีการสร้างเขื่อน หมู่บ้านก็จมน้ำ ชาวบ้านทั้งหมดย้ายถิ่นฐานไปตั้งที่บ้านคอกช้าง และบ้านฆอแย ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้จมอยู่ใต้น้ำกว่า 36 ปี แต่เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งปริมาณน้ำในเขื่อนลดลง จะสามารถมองเห็นซากบ้านเรือน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของหมู่บ้าน ซึ่งในปีนี้น้ำลดลงมาก มองเห็นหมู่บ้านในตำนานได้อย่างชัดเจน สร้างความตื่นตาตื่นใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา และแวะถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก

loading...

ทั้งนี้ ข้อมูลน้ำในเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ณ วันที่ 14 ก.ค. 59 พบว่า มีปริมาณกักเก็บอยู่ที่ 512.41 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 35.23% ปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานได้อยู่ที่ 236.13 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 20.04% มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยวันละ 0.94 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำตามแผนเพื่อการชลประทานวันละ 5 ล้าน ลบ.ม.

เสาของบ้านในหมู่บ้านในตำนานที่หายไป หลังจากทางราชการมีการสร้างเขื่อนบางลาง ตั้งแต่ปี 2518


นายกิจจา ศรีทองกุล วิศวกรระดับ 9 กองโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง กล่าวว่า จากข้อมูลปริมาณน้ำในเขื่อนบางลางในช่วงนี้ จะพบว่ามีน้ำไหลเข้าในจำนวนที่ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำที่ปล่อยออกเพื่อการชลประทาน ซึ่งหากดูจากสภาพอากาศในพื้นที่ ส่วนใหญ่ฝนจะตกในพื้นที่ท้ายเขื่อน ส่วนในพื้นที่เหนือเขื่อนอย่าง อ.ธารโต และ อ.เบตง ฝนยังน้อยอยู่

loading...
ซึ่ง คาดว่าปริมาณน้ำที่ลดลงน่าจะยืดเยื้อไปถึงปลายเดือน ก.ย. เพราะช่วง ต.ค.-ธ.ค. จะเป็นช่วงฤดูฝนในพื้นที่ แต่ก็ยังคาดเดาไม่ได้ เนื่องจากในพื้นที่มีอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และหากจะแก้ไขปัญหาน้ำในเขื่อนบางลาง ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทางชลประทาน อาจต้องลดการระบายน้ำลงเหลือวันละ 3-4 ล้าน ลบ.ม. จะทำให้เขื่อนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่สูงอย่าง อ.ธารโต อ.เบตง ก็จะมีน้ำอุปโภคบริโภคเช่นกัน

loading...

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลิก ที่ลูกสอน ดู หน้าถัดไป